โคมไฟล้านนาอ.สารภี
วันพฤหัสบดีที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2555
ประวัติโคมไฟล้านนา
ประวัติโคมไฟล้านนา
โคมเป็นชื่อของเมืองโบราณในเชียงราย ชื่อว่า
"สุวรรณโคมคำ" โคมใช้เป็นเครื่องสักการะและใช้ส่องแสงสว่างอันเก่าแก่ของคนในภาคต่าง
ๆใช้กันทั่วทุกภาค แต่สำเนียงจะแตกต่างกันไป ภาคเหนือจะเรียกว่า "โกม" โคมไฟล้านนาหรือโกมล้านนา เป็นงานหัตถกรรมพื้นเมืองจากภูมิปัญญาของบรรพบุรุษที่สืบทอดต่อกันมาและได้ถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นเพื่อให้คงอยู่สืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบันในภาคเหนือด้วยเหตุที่การดำรงชีวิตผูกพันกับศาสนาการสร้างผลงานทางศิลปะจึงมีแรงบันดาลใจจากความศรัทธาปัจจุบันชาวล้านนานิยมนำมาใช้ในงานพิธีกรรมต่าง
ๆ โดยเฉพาะในงานประเพณียี่เป็ง หรือประเพณีลอยกระทง
โคมไฟกับงานประเพณียี่เป็งถือได้ว่าเป็นของคู่กัน ของชาวล้านนา เมื่อก่อนชาวล้านนามีโคมไฟใช้ไม่แพร่หลาย จุดประสงค์ของการใช้สอยของโคมไฟโบราณทำขึ้นเพื่อใช้เป็น ตะเกียง หรือสิ่งประดิษฐ์ สำหรับจุดไฟให้สว่าง แต่ด้วยเหตุผลที่น้ำมันมีราคาแพง ประเพณีการจุดโคมไฟแต่เดิมจึงมักมีเฉพาะในพระราชสำนัก และบ้านเรือน ของเจ้านายใหญ่โต เท่าที่ผ่านมาชาวล้านนาใช้โคมไฟในฐานะของเครื่องใช้ในครัวเรือนและเครื่องใช้ใพิธีกรรมเท่านั้นในปัจจุบันโคมไฟถูกนำไปใช้อย่างหลากหลายเช่น ตกแต่ง โรงแรม รีสอร์ท วัด หรือ สถานที่ราชการ และเอกชน เพื่อความสวยงาม
ความสำคัญของโคม
ความสำคัญของโคม
โคมไฟหรือโคมแขวนเป็นงานหัถตกรรมพื้้นบ้าน
ที่ได้รับการถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น ให้คงอยู่สืบต่อจนถึงปัจจุบันในภาคเหนือซึ่งชาวล้านนาใช้ในงานประเพณียี่เป็ง พึงสักการะบูชาพระพุทธเจ้า
คืนวันเพ็ญเดือนสิบสอง (ยี่เป็งล้านนา)ถือว่าเมื่อได้กระทำเช่นนี้แล้วและประทีปจากโคมจะช่วยส่องประกายให้ดำเนินชีวิตเจริญรุ่งเรืองอยู่เย็นเป็นสุขการบูชาด้วยน้ำมันไขข้อโคนี้เป็นพิธีทางลัทธิพราหมณ์โดยแท้
ต่อมาในแผ่นดินของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวราชการที่ 9 ทรงมีพระราชดำริว่า
พระราชพิธีต่างๆ
ที่มีนั้นจะต้องให้มีส่วนเกี่ยวข้อกับทางพระพุทธศาสนาดังนั้นจึงโปรดให้มีการสวดมนต์เย็น
ฉันเช้าก่อนที่จะยกโคมพระสงฆ์ที่จะสวดมนต์ประกอบไปด้วย พระราชาคณะไทย
1 คณะครูปริวัตรไทยพระราชาคณะรามัญ 1 พระครูปริคารามัญ
4 รวมเป็น รูป ในการทำพิธี
(แต่โบราณ) ที่ตั้งโคมเป็นไม้ไผ่ติดกระดาษ ส่วนข้างในสาน10 เป็นชะลอมเปิดกระดาษเป็นรูปกระบอกต่างๆ
เทียนสำหรับจุดโคมชั้นในแต่ละคืนจะใช้เทียน 24
เล่ม พอจุดได้ประมาณ 3 ชั่วโมงในสมัยก่อนจะมีโคมในพระราชวังปักประจำ ทุกตำหนักเจ้านาย เช่น ถ้าเป็นตำหนักเจ้าฟ้าก็จะใช้โคมโครงไม้ไผ่หุ้มผ้าขาว
เช่นเดียวกับโคมประเทียบถ้าเป็นตำหนักพระองค์เจ้าหรือข้างในก็ใช้โคมโครงไม้ไผ่ปิดกระดาษคล้ายกับโคมบริวารที่มีอยู่ทุกตำหนัก ซึ่งโคมทั้งหมดจะใช้จุดตะเกียง ด้วยถ้วยแก้ว หรือชามเหมือนกับโคมบริวารเจ้านาย ซึ่งอยู่นอกพระบรมมหาราชวัง
แต่สำหรับโคมชัย โคมประเทียบ และโคมบริวารจะมีในพระราชวังเท่านั้น
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)